สร้างนวัตกร ที่มีจิตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในโลกอนาคตในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การเขียนโปรแกรมบนมือถือสมาร์ทโฟน สร้างเว็บ พัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างการ์ตูนอนิเมชั่น ตัดต่อคลิป Youtuber การสร้างหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์
ในปีการศึกษา พ.ศ. 2530 หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เริ่มเปิดหลักสูตร สาขาคอมพิวเตอร์ ในระดับ ปวช. และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับ ปวส. ในปีการศึกษา 2547 เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาคอมพิวเตอร์และปฏิบัติสำนักงาน และเปิดการเรียนการสอนหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับ ปวส.
ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัล เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทั้ง 2 ระดับ ในระดับปวช. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยจัดห้องเรียนตามความสนใจของผู้เรียน ประกอบด้วย ห้องนวัตกร(พัฒนาซอฟต์แวร์) และห้องกราฟิก และระดับปวส. (รอบปกติ ) เปิด 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมี 2 สาขางานได้แก่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที ซึ่งเป็นวิทยาลัยพาณิชย์เอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการขอเปิดสาขานักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและไอโอทีในปีการศึกษา 2565 อีกทั้งยังมีหลักสูตรภาคพิเศษ(รอบวันอาทิตย์) ระดับ ปวส. เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
การเรียนการสอน ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานการใช้โปรแกรม และสร้างสรรค์ผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยเน้นตามศักยภาพและความชอบของผู้เรียนห้องนวัตกร ห้องกราฟิก และห้องพัฒนาซอฟต์แวร์
เรียนจบมีงานทำตรงสาขา เป็นเลิศสายอาชีพ เป็นที่ต้องการขององค์กร
การมีความคิดสร้างสรรค์ มักสร้างรายได้ให้เราเสมอ
เรียนรู้ คู่เทคโนโลยี สู่อาชีพจริง
คิดจะเรียนสาย IT อย่าหยุดการพัฒนา