...

กยศ. คืออะไร

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเลือกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับอาชีพแห่งอนาคต รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นในการชำระเงินคืนตามความสามารถของผู้กู้ยืมเงิน เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่กองทุนเพื่อการศึกษาในที่สุด

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์และสร้างอนาคตให้คนไทยอย่างยั่งยืน ด้วยระบบบริหารจัดการที่ดีและทันสมัย

พันธกิจ (Mission)

1. นับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์/ ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก/ ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ/ เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ/ ลักษณะอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. พัฒนาองค์กรในทุกมิติด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล

3. พัฒนาบุคลากรกองทุนให้มีศักยภาพและมีความพร้อมรองรับนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

เป้าหมาย (Goal)

1. สนับสนุนส่งเสริมนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้เข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. ยกระดับการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3. สร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดี และความภาคภูมิใจแก่ผู้กู้ยืมที่ได้รับเงินกู้ยืมจากกองทุนฯ

รวมทั้งสร้างจิตสำนึกที่ดีในการชำระหนี้คืนเพื่อส่งต่อโอกาสให้แก่เยาวชนรุ่นต่อไป

4. สามารถบริหารจัดการกองทุนโดยไม่พึ่งพางบประมาณแผ่นดิน

5. เป็น Smart Organization อย่างเต็มรูปแบบ (Smart Services / Smart Operations / Smart Offices / Smart Peoples)

ข้อดีของการกู้ยืมเงิน

เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ทำให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ช่วยแบ่งเบาภาระ

คุณสมบัติ

(1) มีสัญชาติไทย

(2) ศึกษาหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุน

(3) เป็นผู้ขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในการเข้าศึกษาที่สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในคราวภาคการศึกษาเดียวกัน

(4) มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา

(5) มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มี ความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น

จิตอาสา

กองทุนได้กำหนดคุณสมบัติให้ผู้กู้ต้องทำกิจกรรมจิตสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในระหว่างปีการศึกษา เพื่อขอกู้ยืมเงินในปีการศึกษาถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดเกลาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละและมีจิตสาธารณะ โดยกำหนดชั่วโมงสำหรับผู้ขอกู้ยืมเงินแต่ละกลุ่ม ดังนี้

1. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง

2. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง

3. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปีทุกระดับการศึกษา กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถทำกิจกรรมจิตสาธารณะได้ โดยบันทึกการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่ทำประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธารณะ ในแบบฟอร์มตามที่กองทุนกำหนด และลงลายมือชื่อผู้รับรองการทำกิจกรรม ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอกู้ยืมในปีถัดไป

-->

เอกสาร กยศ.

กยศ. 102 หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมเงิน (กยศ.)
ดาวน์โหลด
หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล (ขั้นตอนการยื่นคำขอกู้ยืม กรณีผู้กู้ยืมที่ทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่เท่านั้น)
ดาวน์โหลด
กยศ. 104 หนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ดาวน์โหลด